วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันศุกร์  ที่  21  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ
ส่งงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาตร์




นำเสนอ
1. วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์5ทักษะวิทยาศาสตร์อนุบาล 2
2. การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ระดับชั้นอนุบาล
3. ความสามารถคิดวิเคราะห์การจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
4. การพัฒนาทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมเครื่องดืมสมุนไพร
5. โทรทัศน์ครู กิจกรรมส่องนก
6. วิจัยรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยการเล่านิทาน
7. โทรทัศน์ครูเรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
8. โทรทัศน์ครู จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
การทำ cooking ขนมวาฟเฟอร์


อุปกรณ์:  ไข่  แป้ง   เนย  ถ้วย ช้อน  ลูกเกด  กล้วย   ผงโอวันติน  น้ำ
วิธีทำ :  1.  น้ำแป้งผสมกับน้ำคนให้เข้ากันแล้วใส่เนยลงไปคนให้เข้ากัน
             2.  นำไปอบเป็นอันเสร็จ

การนำไปใช้ :  1. การทำcooking  มีมากมายหลายแบบแล้วแต่เราจะนำไปสอน
                       2. มีความเป็นระเบียบและเป็นระบบ

ประเมิน
ตนเอง :  สามารถที่จะทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนานศึกษาขั้นตอนการทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้สาธิตและวางระเบียบระบบเพื่อนำไปใช้ในการสอน
เพื่อน :  มีความสุขกันมากในการทำกิจกรรม มีความตั้งใจ
อาจารย์ : ให้คำชี้แนะการทำกิจกรรมและสาธิตการสอนให้นักศึกษาเห็นอย่างชัดเจน  จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันศุกร์  ที่่  14  พฤศิกายน   พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนต่อ
วันที่ 1  หน่วยแปรงสีฟัน  เรื่อง ชนิดของแปรงสีฟัน
ขั้นนำ : ครูและเด็กท่องคำคล้องจองแปรงสีฟัน  แล้วถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีแปรงสีฟันอะไรบ้าง
แล้วเด็กๆรู้จักแปรงสีฟันอะไรอีกบ้าง โดยเขียนเป็น mind map
ขั้นสอน :  มีรูปภาพให้เด็กดูแล้วถามว่า แปรงสีฟันอะไร  แล้วนำไปติดที่ บอดร์หรือกระดาน และให้เด็กๆนับว่าวันนี้ครูนำแปรงสีฟันมากี่ชนิด แล้วขอตัวแทนเด็กนำตัวเลขมาติด จากนั้นตั้งเกณฑ์แยกแปรงสีฟัน 1 เกณฑ์  สมมติว่า แยกแปรงสีฟันเด็กทารก แล้วนำแปรงสีฟันเด็กทารกออกมา  แล้วเด็กๆคิดว่าแปรงสีฟันเด็กทารกมากว่าหรือน้อยกว่า พิสูจน์โดยการจับคู่ 1:1  แล้วแปรงสีฟันเด็กทารกหมดก่อนแสดงว่าแปรงสีฟันเด็กทารกน้อยกว่า แปรงสีฟันที่ไม่ใช่เด็กทารกอยู่เท่าไร  อยู่ 1
ขั้นสรูป :  ทบทวน
วันที่ 2  หน่วยผีเสื้อ  เรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นสอน :  เพลงผีเสื้อ แล้วทำเด็กว่ามีผีเสื้ออะไรบ้าง  แล้วเด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน : นำผีเสื้อสองชนิดมาให้เด็กๆรู้จัก แล้วถามว่าเป็นผีมีสีอะไร ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบของผีเสื้อ  แล้วนำมาจดบันทึกเป็น กราฟฟิก
ขั้นสรุป : ครูและเด็กทบทวน และร้องเพลงผีเสื้อ
กลุ่มหน่วยกล้วย  เรื่อง ชนิดของกล้วย
ในการสอนนั้นครูจะต้องมีเทคนิดวิธีการ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีประสบการณ์ คอยชี้แนะอยู้ใกล้ๆ  เปิดโอกาสในการเล่นอย่างอิสระ ได้ให้ใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว

นำเสนอวิจัย
เรื่องที่ 1 ผลการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเดผ้กปฐมวัยนอกห้องเรียน   ทักษะการสังเกต โดยผ่านการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยผ่านการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์เสริมที่มีผลต่อการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย   สังเกต เช่น  ลักษณะ สี    รูปร่าง ขนาด
เรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลที่ได้รับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   การเป็นเหตุเป็นผล

การทำ cooking  จะต้องอธิบายขั้นตอนการทำให้กับเด็ก เช่น  อุปกรณ์การทำมีอะไรบ้าง     ครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู เป็นตัวอย่าง






การนำไปใช้
1.  การสอนเด็กครูจะต้องบอก อธิบายวิธีการต่างๆ ให้เด็กดู
2.  คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก และความสะอาด

ประเมิน 
ตนเอง :  มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มมากขึ้น  มีการจดบันทึกการสอนเพื่อนำมาเป็นแนวทางการสอนในอนาคตต่อไป
เพื่อน  :  มีความตั้งใจ สนุกสนานในการทำ cooking  เป็นอย่างมาก มีการช่วยเหลือกัยรู้จักการรอคอยแบ่งปันกัน
อจารย์ :  ให้ความรู้หลายๆอย่างเพื่อเป็นแนวทางการสอน สาธิตวิธีการต่างๆเพื่อให้นศ. เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  อธิบายราบละเอียดของการสอนบอกขั้นตอนอย่างละเอียด



วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 
วันศุกร์  ที่  7 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนวิทยาศาสตร์
วันที่ 1    เรื่องกล้วย banana            ชนิดของกล้วย
วันที่ 2    เรื่องกบ  frog                     ลักษณะของกบ
วันที่ 3    เรื่องกะหล่ำปลี  cabbage    ประโยชน์และข้อพึงระวัง
วันที่ 4    เรื่องส้ม orange                  การทำน้ำส้ม
วันที่ 5    เรื่องดอกมะลิ   Jasmine      การทำดอกมะลิทอด

วันที่ 3    เรื่องไก่ chicken   ที่อยู่ของไก่ ได้แก่  สุ่ม  เล้า  บ้าน
                          อาหาร   ได้แก่    ไส้เดือน  ข้าวสาร  ข้าวโพด                                                        ข้าวเปลือก
                          การดูแลรักษา  ได้แก่   การฉีดวัคซีนทุก 6 เดือน
วันที่ 4    เรื่องปลา fish  การทอดปลา



การสอนแต่ละครั้งเราจะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อม และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี เช่น การให้เด็กทำ cooking จะต้องมีการสาธิตและอธิบายอุปกรณ์ และข้อระวังในการทำอาหาร เช่น ความร้อนจากกะทะ หรือน้ำมัน อันตรายจากมีด เป็นต้น  ในการสอนแต่ละครั้งครูควรจดบันทึกพฤติกรรมการทำกิจกรรมของเด็กด้วย

การนำไปใช้  1.  ดูความต้องการของเด็กที่จะสอน
                   2.  สื่อหรือแผนการสอนมีความน่าสนใจและเกิดความ                           สนุกสนานเกิดขึ้น
                   3.   ให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างสม่ำเสมอกัน

ประเมิน          
ตนเอง :  มีความร่วมมือในการนำเสนอ อาจจะมีบางอย่างที่ดู
             ผิดพลาดไปบาง
เพื่อน :    บางกลุ่มยังไม่พร้อมที่จะนำเสนอ และเตรียมการสอนไม่ดี                 พอจึงต้องมีการแก้ไขแต่เพื่อนมีความพยายามในการนำ                   เสนอเป็นอย่างดี
อาจารย์ :  มีการบอกแนวทางการสอนโดยสอนเป็นแบบอย่างเพื่อให้นศ.มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และแนะนำเทคนิควิธีการสอนเพื่อให้มีความสมบรูณ์มากขึ้นในการสอนครั้งต่อไป




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 
วันศุกร์  ที่  24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์
การหมุน
พลังงานศักย์
พลังงานจลน์
แรงต้าน
การเป่าลม
การเคลื่อนที่

การนำไปใช้ :   1. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะต้องมีความคิดต่อ ยอดกับสิ่งประดิษฐ์
                        2. ของเล่นต้องมีความปลอดภัยกับตัวเด็กโดยการเลือกของเล่นที่เหมาะกับเด็ก

ประเมิน
     ตนเอง :   ยังไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้  เพราะยังไม่ได้เตรียมการมาจึงทำให้การนำเสนอผิดพลาดเป็นอย่างมาก โดยจะปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
     เพื่อน :  บางคนมีการเตรียนความพร้อมมาเป็นอย่างดีทำให้เพื่อหลายคนได้รับความรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม จากสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน
    อจารย์ :  แนะนำในสิ่งที่ น.ศ. ยังขาดความรู้ และบอกข้อบกพร่องให้ได้กลับมาแก้ตัวและทำใหม่เพื่อเป็นความรู้กับเพื่อนมาใช้ใน
โอกาศต่อไป