วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

แท่งยิง
วัสดุอุปกรณ์
กาวร้อน    กรรไกร    กระดาษแข็ง   ไม้ไอติม    ที่หนีบผ้า


   
ขั้นตอน
1. ตัดกระดาษหลังให้เป็นสี่เหลี่ยม
2. นำตัวหนับมาติดกับกระดาษหลังที่ตัดไว้
3. จากนั้นติดไม่ไอติมกับตัวหนีบ
4.  แล้วนำฝาขวดน้ำมาติดกับไม้ไอติมเป็นอันเสร็จ



พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันศุกร์  ที่  28 พฤศจิกายน  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ
เทคนิคที่ใช้สำหรับเด็กมากที่สุด คือ การใช้คำถาม


การออกแบบสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน


การนำไปใช้ :  1.  ใช้คำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของเด็กเวลาทำกิจกรรม
                       2.   การใช้คำถามควรเป็นคำถามปลายเปิดเเพื่อให้เด็กคิดอย่าอิสระกว้าง
                       3.   โรงเรียน ครู ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กจึงมีการจัดกิจกรรมสานความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโรงเรียนและบ้าน

ประเมิน
ตนเอง :  ยังนำเนื้อหาที่จะสอนเด็กมาแนะนำผู้ปกครองให้เรียนรู้ถึงในสิ่งที่จะสอนได้อย่างไร แต่ก็จะพยายามและทำให้ได้
เพื่อน :  ทุกคนมีความคิดและแนวคิดเป็นของตนเอง มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำกิจกรรม
อาจารย์ :   สามารถให้แนงคิด คำแนะนำที่ดี ต่อนักศึกษาบอกถึงรายละเอียดความเข้าใจของเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดออกมา มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น





วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู



สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง :  สอนไฟฟ้า5กิจกรรม
โดยครู กอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
โรงเรียนนนทรี วิทยา

กิจกรรมที่ 1 มารู้จักวงจรไฟฟ้ากันเถอะ
โดยครูจะมีอุปกรณ์คือแบตเตอรี่ หลอดไฟและสายไฟ  กิจกรรมนี้จะเป็นการทบทวนเด็กว่าวงจรไฟฟ้าคืออะไรและวงจรไฟฟ้าต่ออย่างไร ซึ่งวงจรไฟฟ้าก็จะประกอบด้วย แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  ตัวนำไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า
กิจกรรมที่ 2 สายสั้นสายยาวไฟติดพร้อมกันหรือไม่
กิจกกรมนี้จะมีสายไฟสองสี คือ สีแดงเป็นขั้วบวกและสีดำเป็นขั้วลบและนำมาต่อรวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ก่อนที่จะทำกิจกกรมจะต้องมีการตรวจสอบสายไฟทุกเส้นว่ามีความสมบูรณ์  ก่อนการทดลองครูจะให้เด็กตั้งสมมติฐานขึ้นว่า สายไฟยาวติดก่อน สายไฟสั้นติดก่อน หรือติดพร้อมกันหลังจากนั้นลงมือปฏิบัติทำการทดลองปรากฏว่าไฟติดพร้อมกันเพราะไฟฟ้าจะมีตัวนำอยู่แล้วแบตเตอรี่ทำให้ไฟฟ้าเหล่านั้นไหลไปรอบๆวงจร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสายสั้นสายยาวไฟกันติดพร้อมกัน
กิจกกรมที่ 3 เชือกแสนสนุก
ครูจะมีเชือกให้นักเรียนกลุ่มละหนึ่งเส้นและให้เด้กทำการทดลอง โดยผู้ที่ออกแรงดึงเชือกจะเปรียบเสมือนแบตเตอรี่ซึ่งดึงให้มีการหมุนเวียนเหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านแต่ละช่วงของสายไฟแล้วก็ผ่านไปจากนั้นก็จะมีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวงจร
กิจกรรมที่ 4 การไหลของไฟฟ้า หรรษากับโมเดล
อุปกรณ์ก็จะมีสายยางและแท่งเหล็กโดยมีลูกแก้วเป็นตัวสื่อครูถามว่าถ้าวางลูกแก้วไว้จะมีพลังงานอะไร คือ พลังงานศักย์ แล้วถ้านำลูกแก้วใส่ลงไปในสายยางจะเกิดอะไรขึ้น ลูกแก้วก็จะไหล นีกเรียนก็จะเห็นการเคลื่อนที่ของลูกแก้วจากพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ ซึ่งสายยางด้านบนจะเปรียบเหมือนแบตเตอรี่ขั้วบวกเพราะมีพลังงานศักย์เยอะกว่า สายยางที่สูงด้านล่างจะมีพลลังงานศักย์น้อยกว่า และเปรียบลูกแก้วที่ไหลลงมาเหมือนกระแสไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าก็เปลี่ยนเป็นพลังงานแสง ดังนั้นกระแสไฟฟ้า คือการไหลของอิเล็กตรอน แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามการไหลของอิเล็กตรอน
กิจกรรมที่ 5 บันทึกแสดงความรู้ความเข้าใจเรื่องวงจรไฟฟ้าก่อนเรียนและหลังเรียน
เป็นการสรุปในการทำกิจกรรม และการประเมินเพื่อน ครู เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป






สรุปงานวิจัย


วิจัยเรื่อง :  การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย : ณัฐชุดา  สาครเจริญ  บัณฑิตวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สรุปวิจัย :  การเรียนวิทยาศาตร์เริ่มเรียนได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัย โดยการลงมือปฏิบัติ การลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง วิธีการเรียนบองเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กหยิบ จับ สัมผัสจากประสบการณ์ที่เด็กได้รับจะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรม
   กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมเพื่อการแสดงออก ความรู้ ความคิด และจิตนาการโดยแบ่งลักษณะออกเป็น 6 ลักษณะ
1.  ย้ำการเรียนด้วยศิลปเรียกว่า ศิลปะย้ำ
2.  จัดภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลป์ เรียกว่า ศิลปะปรับภาพ
3.  เปลี่ยนสิ่งที่เรียนรุ้สู้ศิลป์ เรียกว่า ศิลปะเปลี่ยนแบบ
4.  ถ่ายโยงการเรียนรู้ด้วยศิลปะ เรียกว่า ศิลปะการถ่ายโยง
5.  บูรณาการเรียนรู้ในรูปศิลปะ เรียกว่า ศิลปะบูรณาการ
6.  ค้นหาความรู้จากศิลปะ เรียกว่า  ศิลปะค้นหา
ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ฃ
ตัวแปรตาม คือ ทักษะวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้
1.  การสังเกต
2.  การจำแนก
3.  การวัด
4.  การมิติสัมพันธ์
5.  การสื่อสาร
6.  การลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้วิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบประเมินการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
ผลจากการจัดกิจกรรมก่อนและหลังมีพัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน ระดับ .01 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทำกิจกกรมซึ่งหมายถึงการจัดประสบการณ์รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ศูงขึ้น