วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

แท่งยิง
วัสดุอุปกรณ์
กาวร้อน    กรรไกร    กระดาษแข็ง   ไม้ไอติม    ที่หนีบผ้า


   
ขั้นตอน
1. ตัดกระดาษหลังให้เป็นสี่เหลี่ยม
2. นำตัวหนับมาติดกับกระดาษหลังที่ตัดไว้
3. จากนั้นติดไม่ไอติมกับตัวหนีบ
4.  แล้วนำฝาขวดน้ำมาติดกับไม้ไอติมเป็นอันเสร็จ



พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันศุกร์  ที่  28 พฤศจิกายน  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ
เทคนิคที่ใช้สำหรับเด็กมากที่สุด คือ การใช้คำถาม


การออกแบบสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน


การนำไปใช้ :  1.  ใช้คำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของเด็กเวลาทำกิจกรรม
                       2.   การใช้คำถามควรเป็นคำถามปลายเปิดเเพื่อให้เด็กคิดอย่าอิสระกว้าง
                       3.   โรงเรียน ครู ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กจึงมีการจัดกิจกรรมสานความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโรงเรียนและบ้าน

ประเมิน
ตนเอง :  ยังนำเนื้อหาที่จะสอนเด็กมาแนะนำผู้ปกครองให้เรียนรู้ถึงในสิ่งที่จะสอนได้อย่างไร แต่ก็จะพยายามและทำให้ได้
เพื่อน :  ทุกคนมีความคิดและแนวคิดเป็นของตนเอง มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำกิจกรรม
อาจารย์ :   สามารถให้แนงคิด คำแนะนำที่ดี ต่อนักศึกษาบอกถึงรายละเอียดความเข้าใจของเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดออกมา มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น





วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู



สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง :  สอนไฟฟ้า5กิจกรรม
โดยครู กอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
โรงเรียนนนทรี วิทยา

กิจกรรมที่ 1 มารู้จักวงจรไฟฟ้ากันเถอะ
โดยครูจะมีอุปกรณ์คือแบตเตอรี่ หลอดไฟและสายไฟ  กิจกรรมนี้จะเป็นการทบทวนเด็กว่าวงจรไฟฟ้าคืออะไรและวงจรไฟฟ้าต่ออย่างไร ซึ่งวงจรไฟฟ้าก็จะประกอบด้วย แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  ตัวนำไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า
กิจกรรมที่ 2 สายสั้นสายยาวไฟติดพร้อมกันหรือไม่
กิจกกรมนี้จะมีสายไฟสองสี คือ สีแดงเป็นขั้วบวกและสีดำเป็นขั้วลบและนำมาต่อรวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ก่อนที่จะทำกิจกกรมจะต้องมีการตรวจสอบสายไฟทุกเส้นว่ามีความสมบูรณ์  ก่อนการทดลองครูจะให้เด็กตั้งสมมติฐานขึ้นว่า สายไฟยาวติดก่อน สายไฟสั้นติดก่อน หรือติดพร้อมกันหลังจากนั้นลงมือปฏิบัติทำการทดลองปรากฏว่าไฟติดพร้อมกันเพราะไฟฟ้าจะมีตัวนำอยู่แล้วแบตเตอรี่ทำให้ไฟฟ้าเหล่านั้นไหลไปรอบๆวงจร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสายสั้นสายยาวไฟกันติดพร้อมกัน
กิจกกรมที่ 3 เชือกแสนสนุก
ครูจะมีเชือกให้นักเรียนกลุ่มละหนึ่งเส้นและให้เด้กทำการทดลอง โดยผู้ที่ออกแรงดึงเชือกจะเปรียบเสมือนแบตเตอรี่ซึ่งดึงให้มีการหมุนเวียนเหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านแต่ละช่วงของสายไฟแล้วก็ผ่านไปจากนั้นก็จะมีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวงจร
กิจกรรมที่ 4 การไหลของไฟฟ้า หรรษากับโมเดล
อุปกรณ์ก็จะมีสายยางและแท่งเหล็กโดยมีลูกแก้วเป็นตัวสื่อครูถามว่าถ้าวางลูกแก้วไว้จะมีพลังงานอะไร คือ พลังงานศักย์ แล้วถ้านำลูกแก้วใส่ลงไปในสายยางจะเกิดอะไรขึ้น ลูกแก้วก็จะไหล นีกเรียนก็จะเห็นการเคลื่อนที่ของลูกแก้วจากพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ ซึ่งสายยางด้านบนจะเปรียบเหมือนแบตเตอรี่ขั้วบวกเพราะมีพลังงานศักย์เยอะกว่า สายยางที่สูงด้านล่างจะมีพลลังงานศักย์น้อยกว่า และเปรียบลูกแก้วที่ไหลลงมาเหมือนกระแสไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าก็เปลี่ยนเป็นพลังงานแสง ดังนั้นกระแสไฟฟ้า คือการไหลของอิเล็กตรอน แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามการไหลของอิเล็กตรอน
กิจกรรมที่ 5 บันทึกแสดงความรู้ความเข้าใจเรื่องวงจรไฟฟ้าก่อนเรียนและหลังเรียน
เป็นการสรุปในการทำกิจกรรม และการประเมินเพื่อน ครู เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป






สรุปงานวิจัย


วิจัยเรื่อง :  การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย : ณัฐชุดา  สาครเจริญ  บัณฑิตวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สรุปวิจัย :  การเรียนวิทยาศาตร์เริ่มเรียนได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัย โดยการลงมือปฏิบัติ การลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง วิธีการเรียนบองเด็กมาจากประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กหยิบ จับ สัมผัสจากประสบการณ์ที่เด็กได้รับจะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การคิดและเกิดความเข้าใจจากการกระทำกิจกรรม
   กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมเพื่อการแสดงออก ความรู้ ความคิด และจิตนาการโดยแบ่งลักษณะออกเป็น 6 ลักษณะ
1.  ย้ำการเรียนด้วยศิลปเรียกว่า ศิลปะย้ำ
2.  จัดภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลป์ เรียกว่า ศิลปะปรับภาพ
3.  เปลี่ยนสิ่งที่เรียนรุ้สู้ศิลป์ เรียกว่า ศิลปะเปลี่ยนแบบ
4.  ถ่ายโยงการเรียนรู้ด้วยศิลปะ เรียกว่า ศิลปะการถ่ายโยง
5.  บูรณาการเรียนรู้ในรูปศิลปะ เรียกว่า ศิลปะบูรณาการ
6.  ค้นหาความรู้จากศิลปะ เรียกว่า  ศิลปะค้นหา
ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ฃ
ตัวแปรตาม คือ ทักษะวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้
1.  การสังเกต
2.  การจำแนก
3.  การวัด
4.  การมิติสัมพันธ์
5.  การสื่อสาร
6.  การลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้วิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบประเมินการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
ผลจากการจัดกิจกรรมก่อนและหลังมีพัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน ระดับ .01 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทำกิจกกรมซึ่งหมายถึงการจัดประสบการณ์รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ศูงขึ้น


วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันศุกร์  ที่  21  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ
ส่งงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาตร์




นำเสนอ
1. วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์5ทักษะวิทยาศาสตร์อนุบาล 2
2. การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ระดับชั้นอนุบาล
3. ความสามารถคิดวิเคราะห์การจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
4. การพัฒนาทักษะพื้นฐานเด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมเครื่องดืมสมุนไพร
5. โทรทัศน์ครู กิจกรรมส่องนก
6. วิจัยรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยการเล่านิทาน
7. โทรทัศน์ครูเรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
8. โทรทัศน์ครู จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
การทำ cooking ขนมวาฟเฟอร์


อุปกรณ์:  ไข่  แป้ง   เนย  ถ้วย ช้อน  ลูกเกด  กล้วย   ผงโอวันติน  น้ำ
วิธีทำ :  1.  น้ำแป้งผสมกับน้ำคนให้เข้ากันแล้วใส่เนยลงไปคนให้เข้ากัน
             2.  นำไปอบเป็นอันเสร็จ

การนำไปใช้ :  1. การทำcooking  มีมากมายหลายแบบแล้วแต่เราจะนำไปสอน
                       2. มีความเป็นระเบียบและเป็นระบบ

ประเมิน
ตนเอง :  สามารถที่จะทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนานศึกษาขั้นตอนการทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้สาธิตและวางระเบียบระบบเพื่อนำไปใช้ในการสอน
เพื่อน :  มีความสุขกันมากในการทำกิจกรรม มีความตั้งใจ
อาจารย์ : ให้คำชี้แนะการทำกิจกรรมและสาธิตการสอนให้นักศึกษาเห็นอย่างชัดเจน  จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันศุกร์  ที่่  14  พฤศิกายน   พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนต่อ
วันที่ 1  หน่วยแปรงสีฟัน  เรื่อง ชนิดของแปรงสีฟัน
ขั้นนำ : ครูและเด็กท่องคำคล้องจองแปรงสีฟัน  แล้วถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีแปรงสีฟันอะไรบ้าง
แล้วเด็กๆรู้จักแปรงสีฟันอะไรอีกบ้าง โดยเขียนเป็น mind map
ขั้นสอน :  มีรูปภาพให้เด็กดูแล้วถามว่า แปรงสีฟันอะไร  แล้วนำไปติดที่ บอดร์หรือกระดาน และให้เด็กๆนับว่าวันนี้ครูนำแปรงสีฟันมากี่ชนิด แล้วขอตัวแทนเด็กนำตัวเลขมาติด จากนั้นตั้งเกณฑ์แยกแปรงสีฟัน 1 เกณฑ์  สมมติว่า แยกแปรงสีฟันเด็กทารก แล้วนำแปรงสีฟันเด็กทารกออกมา  แล้วเด็กๆคิดว่าแปรงสีฟันเด็กทารกมากว่าหรือน้อยกว่า พิสูจน์โดยการจับคู่ 1:1  แล้วแปรงสีฟันเด็กทารกหมดก่อนแสดงว่าแปรงสีฟันเด็กทารกน้อยกว่า แปรงสีฟันที่ไม่ใช่เด็กทารกอยู่เท่าไร  อยู่ 1
ขั้นสรูป :  ทบทวน
วันที่ 2  หน่วยผีเสื้อ  เรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นสอน :  เพลงผีเสื้อ แล้วทำเด็กว่ามีผีเสื้ออะไรบ้าง  แล้วเด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน : นำผีเสื้อสองชนิดมาให้เด็กๆรู้จัก แล้วถามว่าเป็นผีมีสีอะไร ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบของผีเสื้อ  แล้วนำมาจดบันทึกเป็น กราฟฟิก
ขั้นสรุป : ครูและเด็กทบทวน และร้องเพลงผีเสื้อ
กลุ่มหน่วยกล้วย  เรื่อง ชนิดของกล้วย
ในการสอนนั้นครูจะต้องมีเทคนิดวิธีการ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีประสบการณ์ คอยชี้แนะอยู้ใกล้ๆ  เปิดโอกาสในการเล่นอย่างอิสระ ได้ให้ใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว

นำเสนอวิจัย
เรื่องที่ 1 ผลการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเดผ้กปฐมวัยนอกห้องเรียน   ทักษะการสังเกต โดยผ่านการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยผ่านการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์เสริมที่มีผลต่อการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย   สังเกต เช่น  ลักษณะ สี    รูปร่าง ขนาด
เรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลที่ได้รับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   การเป็นเหตุเป็นผล

การทำ cooking  จะต้องอธิบายขั้นตอนการทำให้กับเด็ก เช่น  อุปกรณ์การทำมีอะไรบ้าง     ครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู เป็นตัวอย่าง






การนำไปใช้
1.  การสอนเด็กครูจะต้องบอก อธิบายวิธีการต่างๆ ให้เด็กดู
2.  คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก และความสะอาด

ประเมิน 
ตนเอง :  มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มมากขึ้น  มีการจดบันทึกการสอนเพื่อนำมาเป็นแนวทางการสอนในอนาคตต่อไป
เพื่อน  :  มีความตั้งใจ สนุกสนานในการทำ cooking  เป็นอย่างมาก มีการช่วยเหลือกัยรู้จักการรอคอยแบ่งปันกัน
อจารย์ :  ให้ความรู้หลายๆอย่างเพื่อเป็นแนวทางการสอน สาธิตวิธีการต่างๆเพื่อให้นศ. เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  อธิบายราบละเอียดของการสอนบอกขั้นตอนอย่างละเอียด



วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 
วันศุกร์  ที่  7 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนวิทยาศาสตร์
วันที่ 1    เรื่องกล้วย banana            ชนิดของกล้วย
วันที่ 2    เรื่องกบ  frog                     ลักษณะของกบ
วันที่ 3    เรื่องกะหล่ำปลี  cabbage    ประโยชน์และข้อพึงระวัง
วันที่ 4    เรื่องส้ม orange                  การทำน้ำส้ม
วันที่ 5    เรื่องดอกมะลิ   Jasmine      การทำดอกมะลิทอด

วันที่ 3    เรื่องไก่ chicken   ที่อยู่ของไก่ ได้แก่  สุ่ม  เล้า  บ้าน
                          อาหาร   ได้แก่    ไส้เดือน  ข้าวสาร  ข้าวโพด                                                        ข้าวเปลือก
                          การดูแลรักษา  ได้แก่   การฉีดวัคซีนทุก 6 เดือน
วันที่ 4    เรื่องปลา fish  การทอดปลา



การสอนแต่ละครั้งเราจะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อม และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี เช่น การให้เด็กทำ cooking จะต้องมีการสาธิตและอธิบายอุปกรณ์ และข้อระวังในการทำอาหาร เช่น ความร้อนจากกะทะ หรือน้ำมัน อันตรายจากมีด เป็นต้น  ในการสอนแต่ละครั้งครูควรจดบันทึกพฤติกรรมการทำกิจกรรมของเด็กด้วย

การนำไปใช้  1.  ดูความต้องการของเด็กที่จะสอน
                   2.  สื่อหรือแผนการสอนมีความน่าสนใจและเกิดความ                           สนุกสนานเกิดขึ้น
                   3.   ให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างสม่ำเสมอกัน

ประเมิน          
ตนเอง :  มีความร่วมมือในการนำเสนอ อาจจะมีบางอย่างที่ดู
             ผิดพลาดไปบาง
เพื่อน :    บางกลุ่มยังไม่พร้อมที่จะนำเสนอ และเตรียมการสอนไม่ดี                 พอจึงต้องมีการแก้ไขแต่เพื่อนมีความพยายามในการนำ                   เสนอเป็นอย่างดี
อาจารย์ :  มีการบอกแนวทางการสอนโดยสอนเป็นแบบอย่างเพื่อให้นศ.มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และแนะนำเทคนิควิธีการสอนเพื่อให้มีความสมบรูณ์มากขึ้นในการสอนครั้งต่อไป




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 
วันศุกร์  ที่  24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์
การหมุน
พลังงานศักย์
พลังงานจลน์
แรงต้าน
การเป่าลม
การเคลื่อนที่

การนำไปใช้ :   1. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะต้องมีความคิดต่อ ยอดกับสิ่งประดิษฐ์
                        2. ของเล่นต้องมีความปลอดภัยกับตัวเด็กโดยการเลือกของเล่นที่เหมาะกับเด็ก

ประเมิน
     ตนเอง :   ยังไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้  เพราะยังไม่ได้เตรียมการมาจึงทำให้การนำเสนอผิดพลาดเป็นอย่างมาก โดยจะปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
     เพื่อน :  บางคนมีการเตรียนความพร้อมมาเป็นอย่างดีทำให้เพื่อหลายคนได้รับความรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม จากสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน
    อจารย์ :  แนะนำในสิ่งที่ น.ศ. ยังขาดความรู้ และบอกข้อบกพร่องให้ได้กลับมาแก้ตัวและทำใหม่เพื่อเป็นความรู้กับเพื่อนมาใช้ใน
โอกาศต่อไป 

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และ วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ
 การที่จะสอนครูจะต้องดูบริบทกับสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  บุคคลที่ใกล้ชิดเด็ก  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 
การเขียนแผนจะต้องมีความสอดคล้องกันทั้ง จุดประสงค์ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ และกิจกรรม 
 ขั้นตอนการทำกิจกรรม
ขั้นนำ : การนำเข้าสู่บทเรียน เช่น การร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง
เล่านิทาน  เกมการศึกษา การจับคู่ภาพ
ขั้นสอน : ใช้คำถามหรือรูปภาพเพื่อเข้าสู่เนื้อหาที่สอน เช่น ดอกมะลิ อาจจะถามว่าในเพลง หรือ คำคล้องจอมีดอกมะลิอะไรบ้าง แล้วถามอีกว่าเด็กๆรู้จักดอกมะลิอะไรอีกบ้าง หรือจะนำรูปภาพนำมาให้เด็กดู
ขั้นสรุป : ทบทวนเนื้อหาที่เรียน หรือร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เป็นการสรุป
ในการสอนวิทยาศาสตร์การมีขั้นตอน เช่น การตั้งสมมติฐาน  การเก็บรวมรวบข้อมูล วิเคาระห์  และสรุป

การนำไปใช้ : ในการสอนสามารถนำสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมาจัดกิจกรรม และเป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอน

ประเมิน :   ตนเอง   เข้าในเนื้อหาในการเขียนแผนการสอนเพิ่มมากขึ้น มีเทคนิควิธีการที่หลายหลากที่จะนำไปใช้สอน
                 เพื่อน    มีความตั้งใจในการเขียนแผนการสอน ทุกคนมีความพยายามอย่างมาก 
                อาจารย์    ชี้แนะแนวทางการสอนและการเขียนแผนทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน มีการสาธิตการสอนทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น





วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อากาศมหัศจรรย์





การนำไปใช้: ให้เด็กได้ทำกิจกรรมน้ำกับอากาศ เช่น นำน้ำใส่แก้วให้เต็มแล้วนำกระดาษมาปิดปากแก้วไว้ แล้วคว่ำแก้วน้ำจะไม่ไหลลงมาสู้พื้นเพราะน้ำได้ไล่อากาศออกจากแก้วหมดน้ำจึงไม่ไหลลงมา
จากแก้ว


ความลับของแสง





การนำไปใช้: สามารถที่จะให้เด็กประดิษฐ์คิดค้นในการส่องแสงผ่านวัตถุต่างๆที่เป็นรูปร่างและเกิดเงาขึ้น


วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 
Friday 3rd otcober 2014

ความรู้ที่ได้รับ



กิจกรรมจากแกนกระดาษทิชชู
อุปกรณ์: 1.แกนกระดาษทิชชู 1 อัน
        2.เชือกยาว 1 วา
        3.กรรไกร
        4.กาว
        5.กระดาษที่ตัดเป็นวงกลม
        6.ที่เจาะรู 

ขั้นตอนการทำ
1. ตัดแกนกระดาษแบ่งครึ่ง
2. เจาะรูแกนกระดาษที่งสองข้าง
3. นำกระดาษที่วาดภาพที่เราจิตนาการมาติดที่แกนกระดาษ
4. นำเชือกมารอยที่เจาะรูไว้แล้วมัดปมเชือก

วิธีเล่นอาจจะมีหลากหลายวิธีที่เด็กสามารถที่่จะคิดและจิตนาการได้


การนำไปใช้ : สามารถที่จะนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

การประเมิน
ตนเอง: สามารถที่จะตอบคำถามของอาจารย์ได้บางซึ่งทำให้เราเข้าใจในเนื้อหาได้มากขึ้น
เพื่อน: มีความตั้งใจในการเรียนอาจจะมีคุยบางแต่ก็มีความพยายามที่จะช่วยกันตอบคำถาม
อาจารย์: ใช้เทคนิคการสอนที่เปิดโอกาสให้ผูเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อนำไปสู้บทเรียนหรือเนื้อหาที่จะสอนและสามารถที่จะอธิบายให้นศ.เข้าใจอย่างละเอียดกับการทำกิจกรรม



วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วันศุกร์  ที่  26  กันยายน  พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ  












แผนการเรียนเรื่องดอกมะลิ




การนำไปใช้: หาเศษวัสดุเหลือใช้มาทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาตร์ให้เด็กเกิดความสงสัยอยากรู้อยากทดลองเพื่อให้เกิดทักษะต่างๆ

ประเมิน: ตนเอง: เข้าใจและสามารถที่จะเชื่อมต่อความรู้นำไปสู่การปฏิบัติได้
        เพื่อน:  มีความสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรมที่ได้ทำ ตอบคำถามและสังเกตไปพร้อมๆกัน
        อาจารย์: เทคนิคการสอนโดยให้นศ.มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและค้นหาคำตอบด้วยตนเองทำให้นศ. เข้าใจถึงเนื้อหาสาระได้ง่าย


วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ




กิจกรรมกังหันลม : อุปกรณ์ การะดาษพับครึ่ง  ไม้  กาว



                

การนำไปใช้: ให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์เองตามความคิดสร้างสรรค์และหาวิธีการเล่นที่หลากหลายด้วยตนเอง

ประเมิน 
ตนเอง : สามารถที่จะเข้าใจในเนื้อหาได้มากขึ้น มีประสบการณ์ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
เพื่อน :  สามารถที่คิดแก้ไขปัญหาได้ดี มีการช่วยเหลือกัน
อาจารย์ : นำเทคการสอนโดยให้นศ.ทุกคนทำกิจกรรมร่วมกันภายในห้องเรียน ให้เกิดความสงสัยอยากรู้ว่าสิ่งประดิษฐ์นี้เล่นอย่างไรทำให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนการสอน   



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ




การนำไปใช้ : หาสิ่งประดิษฐ์ที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติเอง
เช่น การทำกะหันลม
 ประเมิน: ตนเอง  เข้าใจถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็กเพิ่มขึ้นว่าเด็กจะเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ
         เพื่อน   สามารถที่จะอธิบายหรือบอกความเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กได้ดีมากขึ้น
         อาจารย์ ใช้วิธีกระตุ้นให้นศ.ได้คิดว่าเด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้แบบใด วิธีการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะต้องเริ่มจากอะไรก่อนโดยใช้คำถามชวนคิด







วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ


ชื่อบทความ Project Atelier ( ห้องปฏิบัติการและความคิดสร้างสรรค์ )
ค้นคว้าวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557
โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
     ศิลปะกับวิทยาศาสาตร์ 
 ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้แนะนำพื้นฐานทางวิมยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การสังเกต เช่น นำภาพรถยนต์กับรถบรรทุกมาเปรียบเทียบกันว่าอะไรที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ซึ่งเด็กอาจตองได้หลากหลายคำตอบ
2. การฝึกประสาทสัมผัส การฟัง รับรู้รส ดมกลิ่น สัมผัส เช่น การนำผลไม้มาหลายชนิด แล้วปิดตาเด็กให้เด็กได้ดมกลิ่น สัมผัส รับรู้รส และให้ทายว่าเป็นผลไม้อะไร
3. การค้นพบสิ่งที่น่าสนใจในธรรมชาติรอบตัวเด็ก เช่น มด "เด็กอาจถามว่ามดมีกี่ขา  แล้วเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย" แล้วก็หาหนังสือเกี่ยวกับมดมาเพิ่มเติมให้กับเด็ก
4. การเรียนรู้สุขอนามัยและฝึกความปลอดภัย เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
5. การคาดการณ์ เช่น สภาพอากาศที่แดดจัดเด็กควรนำร่ม หรือหมวกไปด้วย
6. การฝึกลำดับเหตุการณ์ เช่น ก่อนฝนตก ฟ้าจะมืดครึ้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้องและฝนก็ตกลงมา
7. การฝึกการวัด เช่น การชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของต่างๆ
8. การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่น นำกล่องนม ขวดพลาสติก มาสร้างเป็นหุ่นยนต์หรือบ้าน

 การสร้างงานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยเราไม่ได้เน้นความสวยงามแต่เราฝึกให้เด็กมีจิตใจที่อ่อนโยน ฝึกการสังเกต จิตนาการที่ดี มีความอดทน ฝึกสมาธิให้กับเด็ก

สรุป  ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ สมาธิ ความอดทนโดยผู้ใหญ่เปิดโอกาสและช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อเป็นประสบการณ์ของเด็กแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์เกิดขึ้นใหม่



บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ



การนำไปใช้ : ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
ประเมิน : ตนเอง  มีความตั้งใจและตอบคำถามถึงจะถูกบางผิดบางก็เป็นความรู้อย่างหนึ่งที่ดี
         เพื่อน   มีความสนใจในเนื้อหาที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามอย่างสร้างสรรค์
         อาจารย์ สามารถที่จะเชื่อมโยงองค์ความรู้ให้นศ.เข้าใจถึงเนื้อหาสาระได้ง่ายและเข้าใจได้เร็วขึ้น








บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มีกิจกกรมรับน้อง...............



วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 1 
วันศกุร์ ที่ 22  สิงหาคม  พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ
ผลลัพธ์การเรียนรู้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม  คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา
2. ด้านความรู้ คือ สิ่งที่ำด้รับจากข้อมูลหรือเนื้อหาจากการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. ด้านทักษะทางปัญญา คือ มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญนำความรู้มาประยุกต์ใช้
4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คือ ความสามรถในการสื่อสาร การแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การใช้ทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ของภาษา การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน
6. ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ การจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กได้ลงมือกระทโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกิดเป็นองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์

การนำไปใช้  การฝึกให้เด็กรู้จักการมีส่วนรวมในการทำกิจกรรม สร้างเสริมให้เด็กมีประสบการณ์ในการเรียนรู้มีความรู้ติดตัวเพื่อนำไปใช้ในอนาคต
ประเมิน :  ตนเอง  เรียนรู้และเข้าใจถึงทักษะกระบวนการทั้ง 6 ได้
              เพื่อน    มีความตั้งใจและตอบคำถามจากครูได้บาง
              อาจารย์   มีการแนะนำและอธิบายถึงทักษะความรู้ต่างๆโดยใช้เทคนิคการสอนโดยการใช้คำถามหรืออธิบายให้นศ.เห็นภาพเข้าใจมากยิ่งขึ้น